วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ไข่เค็มใบเตย-ภูมิปัญญาชาวบ้าน



ประวัติความเป็นมา



ไข่เค็มเป็นภูมิปัญญาของคนไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นการถนอมอาหารอย่างหนึ่ง ซึ่งคนสมัยก่อนทำไข่เค็มเพื่อเก็บไว้บริโภคในยามที่ขาดแคน หรือเพื่อยืดอายุการเก็บของไข่ ที่เหลือจากการบริโภคสด และถือเป็นภูมิปัญญาที่ผสมผสานกับเทคโนโลยีของชาวบ้านที่สืบทอดกันมาช้านาน ต่อมาไข่เค็มได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น มีความหลากหลาย ทั้งวัตถุดิบที่ใช้เป็นส่วนผสม มีคุณประโยชนที่หลากหลาย มีรสชาติที่แตกต่างกัน ปัจจุบันมีการพัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อการค้า มีการไปจำหน่ายในรูปของไข่เค็มทั้งที่เป็นไข่สด และไข่ที่ต้มแล้วสามารถนำไปบริโภคได้เลย หรืออาจนำไปทำเป็นไส้ขนมต่าง ๆ เช่น ขนมเปี๊ยะ ขนมไหว้พระจันทร์ ขนมบ๊ะจ่าง ตลอดจนนำใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารต่างๆ ได้อีกด้วย
ในเขตพื้นที่ตำบลโคกสำโรง ผู้ริเริ่มทำไข่เค็มคนแรก คือ คุณยายสำลี ในสมัยก่อนวิธีทำจะใช้ดินเหนียวผสมเกลือแล้วนำมาพอกไข่ทิ้งไว้จนเค็มแล้วจึงนำไปต้ม หากไม่ต้องการรับประทานก็ยังไม่ต้องล้างดินออก แต่ไข่อาจมีรสชาติเค็มกว่าเดิมบ้างเล็กน้อย เมื่อปี พ.ศ. 2544 กลุ่มสตรีในเขตเทศบาลตำบลโคกสำโรง ได้รวมตัวกัน จัดตั้งเป็นกลุ่มสตรีแม่บ้านโคกสำโรง มีสมาชิก 13 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการใช้เวลาว่าง ให้เกิดประโยชน์ และต้องการมีอาชีพเสริม เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่สมาชิก จึงคิดที่จะผลิตสินค้าออกมาจำหน่ายโดย และได้ระดมเงินทุนกัน ครั้งแรก เป็นเงิน 15,600 บาท (หนึ่งหมื่นห้าพันหกร้อยบาทถ้วน) ซึ่งสมาชิกได้ตัดสินใจที่จะทำไข่เค็ม เพราะเห็นว่าในตลาดไข่เป็ดมีราคาถูกและมีเป็นจำนวนมาก
แนวความคิดซึ่งได้มาในตัวผลิตภัณฑ์ จากสมัยก่อนที่คุณยายสำลีได้ทำไข่เค็มโดยใช้ดินเหนียวพอก แต่คุณระวิวรรณ ยุ้ยจำเริญทรัพย์ ประธานกลุ่ม ฯ กลับเห็นว่าจังหวัดลพบุรี เป็นแหล่งผลิตดินสอพองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ทำให้ดินสอพองมีราคาถูก ทั้งยังเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดลพบุรีอีกด้วย จึงได้แนวคิดดังกล่าวนำมาผลิตภัณฑ์เป็นผลิตภัณฑ์ OTOP “ ไข่เค็มดินสอพอง”
ต่อมากระแสการดูแลรักษาสุขภาพอนามัยของประชาชนได้รับความนิยมสูง กลุ่มสตรีแม่บ้านโคกสำโรง จึงได้มีความคิดที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย โดยพัฒนา ไข่เค็มดินสอพองสูตรดั้งเดิมเป็นผลิตภัณฑ์ไข่เค็มชนิดต่าง ๆ ประกอบด้วย
1. ไข่เค็มดินสอพองผสมใบเตย
2. ไข่เค็มสมุนไพรใบมะกรูด
3. ไข่เค็มดองน้ำผึ้ง
ไข่เค็มแต่ละชนิดดังกล่าวข้างต้นจะมีรสชาติและกลิ่นที่แตกต่างกันออกไป ถ้าเป็นไข่เค็มที่ผสมใบเตย ไข่จะมีกลิ่นหอมของใบเตย ไข่เค็มที่มีส่วนผสมของสมุนไพรใบมะกรูด จะมีกลิ่นหอมของใบมะกรูด ส่วนไข่เค็มที่ดองน้ำผึ้งนอกจากจะมีกลิ่นหอมของน้ำผึ้งแล้ว ไข่จะมีรสชาติไม่เค็มจัด เป็นที่นิยมของตลาดที่กรุงเทพมหานคร





เอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภัฑณ์

ไข่เค็มใบเตย มีเทคนิคกระบวนการผลิตที่ไม่เหมือนใคร ไข่แดงจะมีสีแดง มัน มีกลิ่นและรสชาติ ที่แตกต่างกัน ตามส่วนประกอบที่ใช้พอกไข่ และมีรสชาติไม่เค็มจัด









มาตรฐานและรางวัลที่ได้รับ


1. ผลิตภัณฑ์ OTOP ระดับดาว 5 ดาว ปี พ.ศ. ๒๕๕๓
2. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) เลขที่ 27/2550 สิ้นอายุ 14 มิถุนายน 2556
3. ผลิตภัณฑ์ยอดเยี่ยม
4. กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้ผ่านเกณฑ์การประเมิน เพื่อแบ่งระดับของระบบการบริหารจัดการ มจก. ในระดับ ดี 5 หมวด
5. กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (ใบทะเบียนพาณิชย์)
6. วิสาหกิจชุมชน รหัสทะเบียน 1-16-0301/1-0004






วัตถุดิบและส่วนประกอบ








1. วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตไข่เค็มทุกประเภทสามารถหาได้ภายในอำเภอโคกสำโรง และจังหวัดลพบุรี ยังมีราคาถูกไม่แพงมากนัก
2. องค์ประกอบของผลิตภัณฑ์





วัตถุดิบและอุปกรณ์ที่ใช้


1. ไข่เป็ดสด 5,000 ฟอง/วัน
2. ใบเตย 2 กิโลกรัม
3. ดินสอพอง 25 กิโลกรัม
4. เกลือไอโอดีน 8 กิโลกรัมน้ำสะอาด 10 กิโลกรัม
5. น้ำสะอาด 10 กิโลกรัม
6.แกลบดำ ขี้เถ้าแกลบ 3 กิโลกรัม



ขั้นตอนการผลิต
ไข่เค็มของกลุ่มสตรีแม่บ้านโคกสำโรง มีการผลิตตามความ ต้องการของลูกค้า ซึ่งมีกระบวนการผลิตดังนี้
สูตร ไข่เค็มสมุนไพรใบเตย
ส่วนผสม
1.ไข่เป็ดสด 5,000 ฟอง/วัน
2.ใบเตย 2 กิโลกรัม
3. ดินสอพอง 25 กิโลกรัม
4. เกลือไอโอดีน 8 กิโลกรัม
5. น้ำสะอาด 10 กิโลกรัม


วิธีทำ 1. นำดินสอพอง เกลือ ใบเตยปั่นละเอียด มาคลุกเคล้าให้เข้ากัน เติมน้ำ สะอาดให้พอดี จนส่วนผสมทั้งหมดเข้ากันเป็นเนื้อเดียวกัน ให้มีความเข้มข้นที่พอเหมาะ ไม่เหลวหรือข้นมากเกินไป







2. นำไข่เป็ดคลุกเคล้าในส่วนผสม



3. นำไข่ที่คลุกเคล้าในส่วนผสมแล้ว นำมาคลุกขี้เถ้าแกลบเผา เพื่อป้องกัน ไม่ให้ไข่ติดกัน และป้องกันการระเหยของน้ำ



4. นำไข่ใส่ถุงพลาสติกและบรรจุกล่อง




5. การรับประทานไข่เค็ม หลังจากบรรจุกล่องแล้ว สามารถนำมามาบริโภคได้หลายรูปแบบตามอายุของไข่เค็ม ซึ่งเริ่มนับจากวันบรรจุกล่อง ดังนี้
1-5 วัน ต้มไข่หวาน
7-10 วัน ทอดไข่ดาว
10-20 วัน ต้มให้สุก









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น